อย่ากังวลไปเลยสำหรับการศึกษาไทยครับ เราเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาครับ อยากให้ทุกฝ่ายคิดบวก
คิดสร้างสรรค์กันครับ ตามบริบท วัฒนธรรม ประเพณีไทยๆกันดีกว่าครับ เราพัฒนาอะไรก็ตามบนข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ บุคลากร
ที่สำคัญนโยบายการศึกษาถ้าเรายังขาดทิศทางที่ชัดเจน คงยากครับ
ผมอ่านหนังสือสยามธุรกิจ
เห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาฝากครับ ท่ามกลางพลวัตรของสังคมในปัจจุบันบวกกับกระแสแนวโน้มที่จะมาถึงนี้
การศึกษาไทยจะดำเนินยุทธศาสตร์เดิมๆ อีกไม่ได้ นั่นหมายความว่า
สังคมไทยกำลังต้องการนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต
แนวโน้มการจัดการศึกษาในอนาคตที่หลายประเทศให้ความสำคัญ
มักจะเน้นไปที่รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัตน์ และเศรษฐกิจการแข่ง
ขัน รวมไปถึงแนวโน้มการเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based economy) แต่สำหรับประเทศไทยยัง “คลุมเครือ” เพราะอยู่ระหว่างเลือกว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลัง!!
เริ่มจากปัญหาการสอนที่มีช่องว่างระหว่างทักษะกระบวนการคิด และทักษะวุฒิทางอารมณ์ยังไม่มีคุณภาพ ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่มุ่งแข่งขันทำให้การจัดการศึกษามุ่งพัฒนาทางวิชาการเป็นสำคัญ ในขณะที่ระบบการศึกษาไทยยังไม่สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียน
รวมไปถึง การใช้เทคโนโลยีในกิจวัตรประจำวันหรือใช้ในการเรียนการสอนทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ลดลง ส่งผลให้ช่องว่างทางอารมณ์ จึงก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวที่นับวันจะรุนแรงขึ้นจนส่งผลให้การพัฒนาเชิงสังคมของเด็กไทยดิ่งลงเหว
การสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมยังไม่มีคุณภาพ แนวคิดของทุนนิยมที่มุ่งแข่งขันได้แพร่ กระจายไปทั่วโลก ส่งผลผู้ประกอบกับสถาบันการศึกษาจำนวนมากมุ่งพัฒนาความรู้ทางวิชาการ และประเมินผลการเรียนที่ความสามารถทางวิชาการจนอาจละเลยการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ส่งผลต่อคุณภาพ นักศึกษาจำนวนมากที่ใช้ชีวิตฉันท์สามีภรรยาในสถาบันการศึกษา มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน สู้รบฆ่าฟันต่างสถาบัน เป็นต้น
แนวโน้มเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในภาพรวมของประเทศไทยยังต้องการนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต ที่จะเท่าทันต่อแนวโน้มต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่แนวโน้มวิกฤตการณ์ด้านเด็กและเยาวชนที่นับวันดูจะรุนแรงมากขึ้นๆ จนกลายเป็นกระแสเรียกร้องนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่จะไล่ทันต่อแนวโน้มที่ว่า “นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต”
นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตที่ว่านี้ ควรมีการ “รวมพลัง” มีการออกแบบร่วมกันและจัดการร่วมกันที่ดี มิใช่เพียงมุ่งเป้าหมายเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและพลเมืองเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการมุ่งสร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นคน “อุดมความรู้ คู่ความดีงาม” และมีทักษะที่หลาก หลายมีความสามารถในการจัดการที่ดี เพื่อเป็นเงื่อนไข สำคัญของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในอนาคตข้างหน้า
เพื่อพัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบ ครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา ตลอดจนเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความ รู้สร้างความตระหนัก สำนึกในคุณค่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงความสมาน ฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย
พัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข กลุ่มเป้าหมายแรก ได้แก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษาในสถาน ศึกษา 15 ล้านคน เพื่อขยายผลสู่สังคม วงกว้าง โดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของ กระบวนการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางการศาสนา และสถาบันการศึกษา ที่กล่าวมาทั้งหมดอาจเป็นการ แก้ปัญหาการศึกษาและสังคมในระยะยาวและยั่งยืน
เริ่มจากปัญหาการสอนที่มีช่องว่างระหว่างทักษะกระบวนการคิด และทักษะวุฒิทางอารมณ์ยังไม่มีคุณภาพ ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่มุ่งแข่งขันทำให้การจัดการศึกษามุ่งพัฒนาทางวิชาการเป็นสำคัญ ในขณะที่ระบบการศึกษาไทยยังไม่สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียน
รวมไปถึง การใช้เทคโนโลยีในกิจวัตรประจำวันหรือใช้ในการเรียนการสอนทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ลดลง ส่งผลให้ช่องว่างทางอารมณ์ จึงก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวที่นับวันจะรุนแรงขึ้นจนส่งผลให้การพัฒนาเชิงสังคมของเด็กไทยดิ่งลงเหว
การสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมยังไม่มีคุณภาพ แนวคิดของทุนนิยมที่มุ่งแข่งขันได้แพร่ กระจายไปทั่วโลก ส่งผลผู้ประกอบกับสถาบันการศึกษาจำนวนมากมุ่งพัฒนาความรู้ทางวิชาการ และประเมินผลการเรียนที่ความสามารถทางวิชาการจนอาจละเลยการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ส่งผลต่อคุณภาพ นักศึกษาจำนวนมากที่ใช้ชีวิตฉันท์สามีภรรยาในสถาบันการศึกษา มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน สู้รบฆ่าฟันต่างสถาบัน เป็นต้น
แนวโน้มเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในภาพรวมของประเทศไทยยังต้องการนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต ที่จะเท่าทันต่อแนวโน้มต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่แนวโน้มวิกฤตการณ์ด้านเด็กและเยาวชนที่นับวันดูจะรุนแรงมากขึ้นๆ จนกลายเป็นกระแสเรียกร้องนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่จะไล่ทันต่อแนวโน้มที่ว่า “นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต”
นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตที่ว่านี้ ควรมีการ “รวมพลัง” มีการออกแบบร่วมกันและจัดการร่วมกันที่ดี มิใช่เพียงมุ่งเป้าหมายเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและพลเมืองเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการมุ่งสร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นคน “อุดมความรู้ คู่ความดีงาม” และมีทักษะที่หลาก หลายมีความสามารถในการจัดการที่ดี เพื่อเป็นเงื่อนไข สำคัญของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในอนาคตข้างหน้า
เพื่อพัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบ ครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา ตลอดจนเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความ รู้สร้างความตระหนัก สำนึกในคุณค่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงความสมาน ฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย
พัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข กลุ่มเป้าหมายแรก ได้แก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษาในสถาน ศึกษา 15 ล้านคน เพื่อขยายผลสู่สังคม วงกว้าง โดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของ กระบวนการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางการศาสนา และสถาบันการศึกษา ที่กล่าวมาทั้งหมดอาจเป็นการ แก้ปัญหาการศึกษาและสังคมในระยะยาวและยั่งยืน
ที่มา : สยามธุรกิจ
No comments:
Post a Comment