December 09, 2014

เปรียบเทียบการศึกษาไทยและฟินแลนด์ ทำไม เขาที่หนึ่งเราเกือบโหล่

ฟินแลนด์ ประเทศเล็กๆในยุโรปตอนบน มีประชากรประมาณห้าล้านคน มีความน่าสนใจมากในด้านการพัฒนาคุณภาพคนของเขา คนที่นี่มีคุณภาพ มีชีวิตความเป็นอยู่ดี มีความเหลื่อมลำ้ทางเศรฐกิจน้อยมาก เพราะมีการเก็บภาษีสูงและมีการพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจัง


ในการสำรวจประเมินผลดัชนีทางการศึกษาล่าสุด
นักเรียนของฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นนักเรียนที่มีคุณภาพที่สุดในโลกการจัดอันดับนี้ทำโดยองค์กรความร่วมมือทางเศรฐกิจและพัฒนาซึ่ง้ใช้รูปแบบการวัดผลที่เน้นวัดความรู้ในการแก้ปัญหาและการใช้ภาษาของคนทั่วโลกที่ชื่อ PISA (Program For International student Assessment )

สิ่งที่น่าแปลกคือ การจัดการศึกษาของเขากับของเรามันช่างตรงกันข้ามจริงๆครับ
เรื่องแรก ที่ฟินแลนด์จะให้เด็กเรียนเมื่ออายุหกเจ็ดขวบ เขาไม่เน้นโรงเรียนอนุบาลเพราะอยากให้เด็กอยู่กับครอบครัวเขาเชื่อว่าครอบครัวให้ความรัก ความรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม สร้างสิ่งดีงามให้เด็กได้ดีกว่าโรงเรียนอนุบาลส่วนบ้านเรา แข่งกันเข้าอนุบาล เดี๋ยวนี้มีติวเข้าอนุบาลกันแล้ว

เรื่องที่สอง เด็กที่นี่เรียนไม่เกินวันละห้าชั่วโมง (ในระดับประถม) ด้วยแนวคิดที่จะให้เด็กมีเวลาทำสิ่งที่ชอบกิจกรรมที่สนใจส่วนเด็กไทย อัดกันเข้าไป

เรื่องที่สาม ห้องเรียนเขากำหนดให้มีเด็กห้องละ 12 คนมากสุดก็ 20 คนครับโรงเรียนยิ่งดีก็ยิ่งจำกัดจำนวนเด็กต่อห้อง เพราะเขาจะพัฒนาคน และคนแต่ละคนไม่เหมือนกันเขาอยากพัฒนาศักยภาพที่เด็กแต่ละคนมี การดูแลเป็นรายคนจึงสำคัญส่วนของเรา บางโรง ห้องละ 50 คนครับ

เรื่องที่สี่ เขาไม่ให้เกรดเฉลี่ยมาเป็นตัวสร้างความภูมิใจ หรือ อับอายให้เด็กการเรียนคือการพัฒนาแต่ละคนไม่ใช่การแข่งขัน ประเทศนี้จึงไม่มีเกรดเฉลี่ยครับ

เรื่องที่ห้า การสอบเขาจะไม่ใช้ข้อสอบมาตรฐาน มาเป็นตัววัดนักเรียนทั้งระเทศเขาให้โรงเรียนกำหนดข้อสอบที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโรงเรียน

เรื่องที่หก เขาจ้างผู้อำนวยการมาบริหาร และให้กรรมการโรงเรียนดูแล ผลงานไม่ดีก็เชิญออกได้
เขาไม่ได้ใช้ระบบราชการ ระบบวิ่งเต้นเอาใจนักการเมือง เอาใจผู้ใหญ่ในกระทรวงหรือใครมีอายุราชการนานแค่ไหนโรงเรียนเขาจึงมีคุณภาพครับ

เรื่องสุดท้ายของวันนี้ (ความจริงมีอีกเยอะครับ) คือ ครูของเขาทุกคนตั้งใจอยากเป็นครูคนที่เก่งที่สุดของประเทศจะแข่งกันเป็นครู ครูทุกคนจบการศึกษาด้านครูในระดับปริญญาโทส่วนใครเรียนด้านอื่นก็ต้องไปต่อ ปอโทด้านครูครับจึงมาสมัครสอนได้

แค่นี้คงพอมองออกนะครับว่าเราทำการศึกษาตรงข้ามเขาขนาดนี้ผลงานมันเลยออกมาตรงข้ามกันครับ


บทความโดย
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์@eduzones.com

คำขวัญวันเด็กประจำปี 2558 “ความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต”

เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักนายกรัฐมนตรี เผยแพร่คำขวัญวันเด็กประจำปี 2558 ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคสช. โดยเขียนด้วยลายมือ ความว่า


“ความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต”

โครงการ UNDO กบข. - แบบฟอร์มขอกลับไปใช้สิทธิบำนาญแบบเดิม

โครงการ UNDO กบข.  แบบฟอร์มขอกลับไปใช้สิทธิบำนาญแบบเดิม 


ภาพจาก ครูบ้านนอกดอทคอม

November 30, 2014

สบ.นล. แสดงความยินดีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคนใหม่


เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557  เวลา 10.00 น.  และเวลา  15.00 น.  สมาคมผู้บริหารสถานศึกษานครหลวง  นำโดย นายมนัส  ทัพไทย นายกสมาคมผู้บริหารสถานศึกษานครหลวง นายนนท์นิพัทธ์  สนั่นเสียง ประธานกลุ่มโรงเรียนอุตรนคร  นายธีระศักดิ์  ยิ้มสิน ประธานกลุ่มโรงเรียนศรีทักษิณ  และผู้อำนวยการสถานศึกษาในอำเภอนครหลวง  ได้เดินทางไปส่งและมอบของที่ระลึกแสดงความยินดีกับ ดร.เกรียงพงศ์ ภูมิราช ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 และนายสุดใจ มอญรัต ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3  ซึ่งทั้งสองท่านเคยเป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

October 23, 2014

ประชุมผู้บริหารสถานศึกษา สพป.อย.1



เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2557 ที่ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพระนครศรี
อยุธยา ชั้น 3 นายอารักษ์ พัฒนถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ผอ.สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ท่านใหม่ ประชุมผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2558 เริ่มด้วยพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงหายจากพระอาการประชวร หลังจากนั้นประชุมชี้แจงข้อราชการให้ทราบและถือปฏิบัติ

August 25, 2014

ผอ.สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 มอบบ้านให้นักเรียนในอำเภอนครหลวง







เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2557 เวลา 09.30  นายภิรมย์ นันทวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประธานในพิธีส่งมอบบ้านให้กับ เด็กหญิงปุญญิศา ปลีกกล่ำ นักเรียนชั้น ป.2  รร.วัดสำมะกัน(เปี่ยมวิทยาราษฎร์บำรุง)  กลุ่มอุตรนคร อ.นครหลวง หลังที่ 22  และส่งมอบบ้านให้กับ เด็กชายกษิดิ์เดช สำราญอยู่ นักเรียนชั้น ป.2 รร.วัดเรือแข่ง  กลุ่มศรีทักษิณ อ.นครหลวง ตามโครงการ "จิตอาสาพัฒนาที่อยู่อาศัย" หลังที่ 23  ของสพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1  โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 โรงเรียนในอำเภอนครหลวง บริษัท ห้างร้าน  พร้อมกันนี้ ได้มอบข้าวของเครื่องใช้พร้อมเงินบริจาคให้กับครอบครัวของนักเรียนอีกด้วย

August 17, 2014

ศูนย์อาเซียนศึกษาอำเภอนครหลวง จัดกิจกรรมวันอาเซียน ปี 2557






วันที่ 8  สิงหาคม 2557 นายบุญส่ง  กลิ่นสวาทหอม  นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลนครหลวง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมวันอาเซียน ณ โรงเรียนนครหลวง(พิบูลประเสริฐวิทย์) ซึ่งเป็นศูนย์อาเซียนศึกษาของอำเภอนครหลวง ได้จัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558  ได้แก่ การแข่งขัน   1.ตอบคำถามเกี่ยวกับอาเซียน  2.การวาดภาพแสดงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของอาเซียน  3.การประกวดร้องเพลงเกี่ยวกับอาเซียน  และกิจกรรมฐานการเรียนรู้ 10 ประเทศในอาเซียน ให้นักเรียนและผู้ร่วมงานเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศในอาเซียน แยกเป็น 10 ฐานการเรียนรู้ ในแต่ละฐานการเรียนรู้มีรางวัลให้สำหรับผู้รวมกิจกรรมที่ตอบคำถามถูกต้องเกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียน  ผู้ร่วมกิจกรรม มีนักเรียน คณะครู ในอำเภอนครหลวงเข้าร่วมกิจกรรม

บริษัท ทีเอสเทค (ประเทศไทย) จำกัด มอบทุนการศึกษานักเรียน ปีการศึกษา 2557







เมื่อวันที่ 29  กรกฎาคม 2557  เวลา 09.00 น. นายยาสุโนริ  ซาคุไร  ประธานบริษัท ทีเอส เทค (ประเทศไทย) จำกัด)  เป็นประธานมอบทุนการศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3  นักเรียนในเขตอำเภอนครหลวง  จำนวน 75  ทุน  ทุนละ 2,500  บาท  ซึ่งเป็นทุนต่อเนื่องจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โดยนายมนัส  ทัพไทย  นายกสมาคมผู้บริหารสถานศึกษานครหลวง  กล่าวรายงานและขอบบริษัท ทีเอส เทค (ประเทศไทย) จำกัด)  ที่มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนในอำเภอนครหลวงต่อเนื่องทุกปี สำหรับการมอบทุนการศึกษาในครั้งนี้  ได้รับความอนุเคราะห์สถานที่และการแสดงในการมอบทุนการศึกษา ณ โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา”

June 09, 2014

ผลวิจัย เด็กไทย "ผอม อ้วน เตี้ย ไอคิวต่ำ"

ภาพจาก : ไทยรัฐออนไลน์

ผลวิจัยพบว่า ในชีวิตจริง ทิศทางของเด็กไทยกลับมุ่งไปในแนว "ผอม อ้วน เตี้ย ไอคิวต่ำ" เป็นโจทย์ที่น่าตกตะลึง ขณะที่สังคมไทยมีค่านิยมชอบความสูง หล่อ ฉลาดเฉลียว
 โฆษณาสินค้าที่เกี่ยวกับเด็กหรือคนรุ่นใหม่ จะเน้นความเป็นซุปเปอร์บอย ฉลาดกว่าเพื่อน หล่อเหลาแบบเกาหลี ญี่ปุ่น หรือลูกครึ่งตะวันตกไปเลย

ข้อมูลของ "นางนิภา โรจน์รุ่งวศินกุล" หัวหน้าหน่วยชีวสถิติ และหัวหน้าโครงการสำรวจภาวะโภชนาการและสุขภาพเด็กในภูมิภาคอาเซียน หรือ SEANUTS (South East Asia Nutrition Sur) สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ที่ได้สำรวจเด็กไทยจำนวน 3,119 คน อายุระหว่าง 0.5-12.9 ปี ช่วง พ.ศ.2554-2555 ระบุว่า เด็กไทยกำลังประสบภาวะทุพโภชนาการ และขาดการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เด็กวัย 3-6 ปี มีภาวะน้ำหนักเกิน และอาจกลายเป็นเด็กอ้วนในช่วง 6-12 ปี รวมทั้งภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและไอโอดีน สาเหตุสำคัญมาจากการได้รับสารอาหารที่จำเป็นจากการเติบโตของร่างกายไม่เพียงพอ หรือไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยทารก ทั้งวิตามินเอ วิตามินดี ธาตุเหล็ก ไอโอดีน และแคลเซียม

น่าตกใจไปกว่านั้น เมื่อมีการเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของเด็กอายุ 6-12 ปี ในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ภาพรวมพบเด็กไทยมีสติปัญญาค่อนข้างด้อยกว่าประเทศอื่น โดยพบว่า เด็กประเทศเวียดนามมีระดับไอคิวล่าช้ากว่าปกติ คือ ต่ำกว่า 80 ถึง 25.7% ของจำนวนเด็กที่สำรวจทั้งหมด รองลงมาคือไทย 14.7% มาเลเซีย 10.1% และอินโดนีเซีย 6.8% ระดับไอคิวค่อนข้างต่ำ 80-89 ไทย 40.7% เวียดนาม 17.6% มาเลเซีย 14.7% และอินโดนีเซีย 12.8% ไอคิวระดับปานกลาง มาเลเซีย 39.7% ไทย 37.1% เวียดนาม 34.3% อินโดนีเซีย 34.4%

ขณะที่เด็กไทยมีไอคิดระดับดี 110-119 ต่ำสุด 5.6% รองลงมาคือเวียดนาม 11.6% มาเลเซีย 19.1% และสูงสุดคือ อินโดนีเซีย 30.9% และเด็กไทยมีไอคิวระดับดีเลิศ 120 ขึ้นไป เพียง 1.9% มาเลเซีย 10.7% เวียดนาม 10.8% และสูงสุดคือประเทศอินโดนีเซีย 15.3% การวิเคราะห์พบว่า สาเหตุหลักๆ มาจากฐานะทางเศรษฐกิจ ที่กระทบต่อคุณภาพทางโภชนาการของครอบครัวสอดคล้องกับตัวเลขของกรมสุขภาพจิต ที่พบว่าเด็กที่ไอคิวต่ำของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคอีสาน และภาคเหนือ ที่อาหารการกินอาจจะไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการและเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก

แนวทางแก้ปัญหาระยะยาว นางนิภาเสนอว่า ควรให้ความใส่ใจเรื่องอนามัยแม่และเด็กเพิ่มขึ้น และควรจะต้องให้ความรู้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์เป็นการเตรียมตัว และจะต้องเร่งแก้ปัญหาแม่วัยใส ท้องไม่พร้อม เพราะถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว

"นายสง่า ดามาพงษ์" นักวิชาการด้านสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เห็นว่าวันนี้ภาพของเด็กไทยประกอบไปด้วย เด็กผอม เตี้ย อ้วน และโง่
จากงานวิจัยของ SEANUTS บ่งชี้ว่า ภาวะน้ำหนักเกินมีความชัดเจนในกลุ่มเด็กเมืองอายุ 6-12 ปี

ขณะที่ในเด็กชนบทมีภาวะเติบโตหยุดชะงักทำให้เป็นเด็กแคระแกร็นสูงกว่าเด็กเมืองถึงสองเท่า โดยเด็กทารกแรกเกิด 0.5-2.9 ปี ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต สาเหตุมาจากคุณภาพอาหารที่ทารกได้รับต่ำมาก ส่วนเด็กวัยเรียนและเด็กอนุบาล ยังเจอปัญหากินอาหารคุณภาพต่ำ

สาเหตุเชิงพฤติกรรมที่ทำให้เด็กไทยมีสภาพเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะเด็กไทยกินผักผลไม้น้อยลง วันหนึ่งไม่ถึงช้อนครึ่ง ทำให้ขาดวิตามินและแร่ธาตุ เป็นสาเหตุของอาการเซื่องซึม

โดยสาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะผลไม้และผักมีราคาสูงขึ้น ขณะที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เรื่องโภชนาการ นิยมปลูกผักไว้ขาย ไม่ได้ไว้กิน  ขณะเดียวกัน ยังพบว่าเด็กไทย 46% กินขนมกรุบกรอบ ซึ่งมีไขมันและโซเดียมสูง และ 49% ดื่มน้ำอัดลมทุกวัน 92% กินอาหารประเภททอด

"ถ้าปล่อยให้เด็กที่ขณะนี้กำลังเรียนอยู่ระดับอนุบาล และประถม ยังอ้วนและควบคุมไม่ได้ เด็กจะเสี่ยงเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนในอนาคต ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ความดัน หลอดเลือดอุดตัน อัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจำนวนมาก เป็นหายนะของชาติ แนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนคือ ส่งเสริมให้คนไทยมีความรู้ด้านสุขภาวะมากขึ้น ขณะเดียวกันจะต้องรณรงค์ให้พ่อแม่มีความเข้าใจในการเลือกอาหารให้กับเด็ก รวมถึงส่งเสริมให้เด็กดื่มนมจืด โครงการนมโรงเรียนก็ควรต้องใช้นมจืดเท่านั้น"

การแก้ปัญหาอีกทางหนึ่ง "นางกัลยา กิจบุญชู" หัวหน้าหน่วยสรีระวิทยาโภชนาการ มม. เสนอว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องหันหน้ามาคุยกัน เพราะเท่าที่ดูการที่เด็กไทยมีภาวะทุพโภชนาการเช่นนี้ ส่วนหนึ่งเพราะพ่อแม่ปัจจุบัน ไม่นิยมพาลูกออกนอกบ้าน ด้วยเกรงว่าจะไม่สบายบ้าง อากาศร้อนบ้าง

ทั้งที่ความจริงแล้ว การพาลูกออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ขณะเดียวกัน การที่พ่อแม่ไม่พาลูกออกนอกบ้าน ทำให้เด็กติดเทคโนโลยี และที่สำคัญควรส่งเสริมการเล่นกีฬาเพื่อให้เด็กได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาหลายปี แต่แนวโน้มปัญหาไม่ได้ลดลงนัก ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องกลับมาทบทวนแนวทางแก้ไขปัญ
ข้อมูลจาก : เว็บไซต์หนังสือพิมพ์มติชน

สพป.อย.๑ ประชุมปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน



เมื่อวันที่ ๕  มิถุนายน  ๒๕๕๗  ผอ.ภิรมย์  นันทวงค์  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๑ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตามโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประชุมโรงเรียนในอำเภอนครหลวง  เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีแนวทาง หรือวิธีการในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามความเหมาะสมของโรงเรียนโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการสอบ O-NET และ NT เป็นฐาน ปีการศึกษา ๒๕๕๖  ของโรงเรียนที่วิเคราะห์ว่าแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ แต่ละสมรรถนะอยู่ในพื้นที่คุณภาพใด  จัดทำโครงการพัฒนา / ปรับปรุง  ตามข้อมูลการวิเคราะห์เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  ผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ผู้บริหารโรงเรียนและครูวิชาการ  จำนวน  ๓๘  คน  โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากศึกษานิเทศก์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๑

January 29, 2014

วันครูแห่งชาติ ปี 2557 อำเภอนครหลวง



         วันที่ 16  มกราคม  2557  สมาคมผู้บริหารสถานศึกษานครหลวง  จัดงานวันครูแห่งชาติของอำเภอนครหลวง  ณ โรงเรียนนครหลวง"อุดมรัชต์วิทยา"  โดยได้เชิญนายพันธุ์เลิศ มีวุฒิสม นายอำเภอนครหลวง เป็นประธานและมอบรางวัลครู  โดยได้รับเกียรติจาก นายสุดใจ  มอญรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1  ร่วมงานมี มีข้าราชการครูในประจำการ นอกประจำการ และผู้มีเกียรติร่วมงาน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สกสค. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คุรุสภา และครูและบุคลากรทางการศึกษาในอำเภอนครหลวงร่วมสนับสนุน การจัดงานงานวันครูของอำเภอนครหลวง มีกิจกรรม ดังนี้
          1. กิจกรรมทางศาสนา  ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป
          2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์          

          3. ยกย่อง เชิดชูครู ผู้บริหารที่ได้รับรางวัลต่างๆ เช่น แสดงความยินดีครูที่ได้รับวิทยาฐานะชำนาญการพิเศษ  มอบเกียรติบัตรรางวัล"ครูดีศรีนครหลวง", "รางวัลหนึ่งแสนครูดี"  ครูไม่มีวันลาในรอบปี 2556 ,รางวัลครูที่ร่วมบรรเลงดนตรีไทยทั้งครูในประจำการและนอกประจำการ รวมทั้งครู-ผู้บริหารที่ได้รับวิทยฐานะในระดับต่างๆ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
          4. ภาคบ่าย- ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไปกิจกรรมการแข่งขันกีฬาเพื่อความสามัคคีระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษา           

          5. ภาคค่ำ-ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไปจัดงานรื่นเริง สมาคมผู้บริหารสถานศึกษานครหลวง  จัดงานราตรีหญ้าแพรก ครั้งที่ 34 ประจำปี 2557  โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษา องค์กรท้องถิ่น หัวหน้าหน่วยงาน ครูบำนาญ พ่อค้า ประชาชนร่วมงาน






ประวัติความเป็นมาของวันครู

     มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
     ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญ คุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของ คุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ ข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
     “ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือ ว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมี บุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลายข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”
     จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่ แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติ เห็น ควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครู กับประชาชน
     ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู”โดย เอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้
ข้อมูลบางส่วนจาก http://www.dmc.tv/

January 09, 2014

วันเด็กแห่งชาติ ปี 2557



คำขวัญวันเด็ก  ปี 2557  นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี ให้ คำขวัญวันเด็ก 2557 คือ " กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง "



 ประวัติวันเด็กแห่งชาติ  

              วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
 

กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

              กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ  ล้วนมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกัน คือ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกถิ่นจะมีขนมมากมาย มีคำเชื้อเชิญเพราะ ๆ มีคำอวยพรให้เด็กๆ เป็นวันที่เด็ก ๆ มีสิทธิพิเศษ ถนนทุกสาย เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ หรือร่วมกันทำกิจกรรม ในแต่ละชุมชนเพื่อเด็กๆ จัดบรรยากาศเพื่อเด็ก ๆ เพลงเด็ก ๆ ของขวัญเพื่อเด็ก ๆ ฯลฯ 

            
ข่าวการศึกษา อ่านข่าวทั้งหมด
ข่าวการศึกษา