December 18, 2013

การประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ก็ยังเป็นเรื่องยากต่อไป

หลายท่านคงได้ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวการทำผลงานวิทยฐานะระดับต่างๆแล้วนะครับ  ทั้งครูและบุคลากรทางการศึกษา  และสายผู้บริหารสถานศึกษา  การทำผลงานตาม ว.17ก็เป็นเรื่องยาก เนื่องจากต้องจัดทำเอกสารและผลงานทางวิชาการล้วนต้องใช้เวลาในการจัดทำผลงาน  ที่สำคัญแค่พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นก็ไม่ใช่ง่ายที่จะสำเร็จภายในเวลาจำกัด ถ้าจะต้องนั่งทำผลงานด้วยแล้วจึงเป็นเรื่องยากยิ่งขึ้น ...นอกจากคนที่มีความมุ่งมั่นทำผลงานจริงๆตั้งธงไว้แล้วเท่านั้นที่ทำได้  ส่วนจะหันไปขอรับประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ ว.13 (ว. 5 เดิม)  ดูรายละเอียดแล้วน่าจะโหดกว่าเดิม ยกตัวอย่างการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ ว.13 หลายท่านแค่กรอกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET  ก็รู้ว่าไม่ผ่านแต่แรกแล้วครับ  น่าสงสารกับความก้าวหน้าของครูและบุคลากรทางการศึกษา และสายผู้บริหารสถานศึกษาไทยจริงๆ
การประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์  ต้องได้รางวัลระดับประเทศขึ้นไปก็ถือว่าเป็นเรื่องยากสำหรับครูและผู้บริหารแล้วกว่าจะได้หมดงบประมาณไม่น้อยครับ จากที่ผ่านมาเพียงแค่ผู้บริหารไม่มีชื่อในเกียรติบัตรรางวัลระดับประเทศว่าเป็นผู้ฝึกสอนด้วยเลยตัดสิทธิ์ไม่ผ่านการกลั่นกรองจาก สพฐ.  คิดว่าไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไรครับ จึงทำให้ดูเหมือนว่าไม่ส่งเสริมความก้าวหน้าบุคลากรเท่าที่ควรครับ  นอกจากท่านจะเป็นนักล่ารางวัลเท่านั้นครับถึงจะมีโอกาสครับ เราควรจะเน้นคุณภาพการศึกษาดีกว่าครับ ดูผลการพัฒนา กระจายอำนาจให้ชุมชนและผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วม โดยอิงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET  น่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับความก้าวหน้าของครูครับ
เกียรติบัตรต่างๆที่ได้มาบางครั้งก็เป็นขยะใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลยครับ ในการจัดการศึกษาในทัศนะของผมคิดว่าคุณภาพผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดครับ เรากำลังหลงทิศทางเกี่ยวกับเกียรติบัตร รางวัลต่างๆที่ได้รับ ครูได้รับวิทยฐานะมากขึ้น  แต่....คุณภาพการศึกษาลดลง  จะปฏิรูปกี่ครั้งก็เหมือนเดิมครับเมื่อระบบไม่เปลี่ยน  ทุกเรื่องครับที่ต้องเปลี่ยนกระทั่งความก้าวหน้าของครูและบุคลากรทางการศึกษา ควรที่เราจะส่งเสริมสร้างขวัญกำลังใจ ให้ความก้าวหน้า และมีเงินเดือนสูงขึ้นทันการเปลี่ยนแปลงตามเศรษฐกิจของประเทศที่นับวันจะสูงขึ้นตามลำดับ ผมเห็นหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตำแหน่งและการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) ตำแหน่งประเภทวิชาการ  ควรที่จะประยุกต์ใช้กับครูบ้างครับท่านลองค้นดูครับ  ต่อไปครูที่ตั้งใจทำงานไม่ค่อยสนใจเรื่องการส่งวิทยฐานะ ผู้บริหารสถานศึกษาก็เสนอชื่อเพื่อประเมินตามเกณฑ์น่าจะเป็นทางออกที่ดีครับ 
 ขอแสดงความยินดีแด่ผู้ที่จะได้รับการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ ว13  ซึ่งคาดว่าจะเริ่มประเมินประมาณเดือนมกราคม 2557  ขอให้เตรียมเอกสารหลักฐานให้พร้อมครับ
  
สำหรับเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ ปี 2557 ครูใช้ผลสัมฤทธิ์นักเรียน 80% ส่วนผู้บริหารสถานศึกษา 50% ชี้หัวใจสำคัญระบบใหม่ทำให้ครูไม่ทิ้งห้องเรียน จะให้น้ำหนักผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนประมาณ 50% อีก 20% เป็นการดูแลครู อย่างการส่งเสริมการพัฒนาครูการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ และสัดส่วนที่เหลือ 30% จะดูการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา การมีส่วนร่วมกับชุมชนจ้างใครทำผลงานไม่ได้  ผ่านหรือไม่ขึ้นกับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน เริ่มปี 2557
ข่าวการศึกษา อ่านข่าวทั้งหมด
ข่าวการศึกษา